วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง



อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา

ข้อมูลทั่วไป

อลังการทะเลหมอก

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าและธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและจุดชมวิวที่สามารถชมบรรยากาศอันร่มรื่น โดยเฉพาะบริเวณห้วยน้ำดัง ที่มีชื่อว่าทะเลหมอกที่งดงามยิ่ง มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมียอดดอยที่มีธรรมชาติงดงามอีกหลายแห่ง เช่น ดอยช้าง ดอยสามหมื่น รวมทั้งมีโป่งเดือดซึ่งเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติ ส่วนการล่องแพในลำน้ำแม่แต่งก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร

ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ประจำกรมป่าไม้ ครั้งที่ 9/2530 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 ให้กองอนุรักษ์ต้นน้ำ และกองอุทยานแห่งชาติประสานงานกัน จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจพื้นที่บริเวณหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จังหวัดเชียงใหม่บางส่วน เพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามข้อเสนอแนะของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2530 กรมป่าไม้ให้ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่แจ่มหลวง) และหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) ซึ่งได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ทป)/86 ลงวันที่ 3 เมษายน 2531 แต่เนื่องจากยังขาดรายละเอียดต่างๆ และขอบเขตพื้นที่ที่เหมาะสมในการกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับวนอุทยานโป่งเดือด จังหวัดเชียงใหม่ มีหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/10 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2531 แจ้งว่า เนื้อที่ใกล้เคียงวนอุทยานมีความเหมาะสมที่จะรวมกับพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/950 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้ให้ นายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานโป่งเดือดไปสำรวจเบื้องต้นบริเวณดังกล่าว ได้รับรายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/74 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2531 ว่า ได้ทำการสำรวจร่วมกับ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/206 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2532 เสนอกรมป่าไม้ขอความเห็นชอบ เพื่อนำเรื่องการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบกำหนดบริเวณพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่จอกหลวง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) บางส่วน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน ในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลกี๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และ ตำบลแม่อี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ประมาณ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 782,575 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ต่อไป

ต่อมาได้มีวิทยุกองอุทยานแห่งชาติที่ กษ 0712 ทับ 97 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2534 ให้อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ประสานงานกับหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และให้สำรวจพื้นที่บางส่วนของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และพื้นที่วนอุทยานโป่งเดือด ในท้องที่ตำบลเมืองคอน อำเภอเชียงดาว และตำบลป่าแป๋ ตำบลเมืองกาย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมประมาณ 118,906.25 ไร่ หรือ 190.25 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพสูงมาก มีจุดเด่นที่สวยงาม เช่น โป่งเดือด น้ำตก ลุ่มน้ำแม่แตง รวมทั้งความหลากหลายของพืชพรรณ และสัตว์ป่าที่ชุกชม มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติโดยด่วน

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเชียงดาว และป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลเปียงหลวง ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลกืดช้าง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนในท้องที่ตำบลเวียงเหนือ ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 33ก ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2538 มีเนื้อที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 80 ของประเทศ



ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและหุบเขาสลับกัน เป็นแนวยาวขนานกันในแนวเหนือ-ใต้ของเทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาผีปันน้ำ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีที่มีการแทรกดันของหินหนืด และแรงบีบอัดในแนวตะวันออก-ตะวันตก ทำให้พื้นผิวโก่งงอกลายเป็นภูเขาและเทือกเขา และมีหุบเขาที่เกิดจากรอยเลื่อนที่ทรุดต่ำลง รวมทั้งได้มีการสึกกร่อนที่เกิดจากกระบวนการทางฟิสิกส์และทางเคมี ตลอดจนการทับถมของตะกอนน้ำพาทำให้เกิดเป็นที่ราบแคบๆ ระหว่างภูเขาทั้งสองฝั่งของลำน้ำ มีความสูงตั้งแต่ 400-1,962 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลำน้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำแตงและแม่น้ำปาย จัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำตั้งแต่ชั้น A ถึงชั้น 1A มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย ได้แก่ ห้วยเหี้ยะ ห้วยแม่ยะ ห้วยฮ่อม ห้วยน้ำดัง ห้วยแม่สลาหลวง ห้วยโป่ง น้ำงุม ห้วยแม่แพลม ห้วยงู ห้วยแม่เย็นหลวง ห้วยน้อย ห้วยฮ่อม ห้วยหก ห้วยแม่ฮี้ ห้วยขาน ห้วยแม่ปิง ห้วยแม่จอกหลวง เป็นต้น


ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศโดยทั่วไปเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส อากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 8 องศาเซลเซียส ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 23 องศาเซลเซียส อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังคาบเกี่ยวพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ป่าอยู่ในเขตมรสุม กล่าวคือ พื้นที่นี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมสะวันตกเฉียงเหนือนอกจากนั้นยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมพายุไซโคลน ด้วยจึงทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปมี 3 ฤดูดังนี้

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 24 องศาเซลเซียสและ ต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,134 มิลลิเมตร ทิศทางลมมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้

ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 20 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 2 องศาเซลเซียส ทิศทางลมมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 28 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 12 องศาเซลเซียส ทิศทางลมมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้



พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังสภาพทางธรรมชาติยังคงความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดสังคมพืชหลากหลายชนิด ประกอบด้วย

ป่าดิบชื้น ขึ้นปกคลุมสองฝั่งของลำน้ำในพื้นที่ที่มีความสูง 500-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เติม อวบดำ หว้า งิ้วป่า ปอตูบหูช้าง ผ่าเสี้ยน มันปลา เปล้าใหญ่ ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่างได้แก่ เอื้องหมายนา มันดง ม้าสามต๋อน เฒ่าหลังลาย หญ้าถอดบ้อง ตองกง เครือออน กลอย สายหยุด หัสคุณ ออสมันด้า และ เล็บเหยี่ยว เป็นต้น

ป่าดิบเขา พบในพื้นที่ทีเป็นหุบเขาและพื้นที่ลาดชันที่สภาพอากาศมีความชื้นค่อนข้างสูงตลอดปี ในระดับความสูง 1,650-1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่อกระดุม ก่อแดง สนสามใบ เม็ดชุนตัวผู้ ช้าส้าน มะมือ ก่วม เต้าหลวง จำปีหลวง มณฑาป่า เหมือดดง เดื่อปล้องหิน ตะไคร้ต้น สารภีป่า กำลังเสือโคร่ง กะทัง ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่าง ได้แก่ กล้วย ต่างไก่ป่า พลูช้าง พญาดง หญ้าคมบาง ตองกง พริกไทย ดาดตะกั่ว และกาหลา เป็นต้น


ป่าเบญจพรรณ พบกระจายตัวเป็นพื้นที่กว้างที่ระดับความสูงต่ำกว่า 900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ กาสามปีก กุ๊ก แคหัวหมู แดง ตะคร้ำ ประดู่ มะเกลือ มะกอก ตังหน ชิงชัน โมก ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่างได้แก่ คนทา คัดเค้าเครือ เฒ่าหลังลาย เต่าร้าง ผักแว่น สะบ้าลิง สาบเสือ บุก ลิเภา ชายผ้าสีดา เกล็ดปลา หญ้าขัด และพ่อค้าตีเมีย เป็นต้น ป่าเต็งรัง พบโดยทั่วไปในพื้นที่ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง เหียง พลวง รัง รกฟ้า พะยอม ตีนนก ติ้วขน สมอไทย ส้านใหญ่ มะขามป้อม ยอป่า แสลงใจ เค็ด ฯลฯ ไม้พุ่มและไม้พื้นล่าง ได้แก่ กะตังใบ โสมชบา กระมอบ หนาดคำ ตาฉี่เคย ข้าวสารป่า และยาบขี่ไก่ เป็นต้น

ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่า จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า กวางป่า หมีควาย เก้ง กระจงเล็ก เลียงผา หมูป่า แมวดาว ชะมดเช็ด ลิงวอก ชะนีมือขาว พังพอน เม่นใหญ่ ไก่ป่า ไก่ฟ้าสีเงิน นกเขาเปล้า นกขุนทอง นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกปรอดคอลาย เหยี่ยวต่างสี กะท่าง เต่าปูลู เต่าใบไม้ ก้งก่าแก้ว แย้ ตะกวด งูเหลือม งูเขียวดอกหมาก งูเห่า กบทูด ปาด เขียดป่าไผ่ และอึ่งลาย เป็นต้น ในบริเวณแม่น้ำและลำห้วยต่างๆ พบปลาจาด ปลามอน ปลาเลียหิน ปลาเวียน ปลาค้อ ปลาค้างคาว ปลาติดหิน และปลาก้าง เป็นต้น

วัดพระพุทธบาท
วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ตั้งอยู่ที่ตำบลขุนโขลน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 28 กิโลเมตร มีทางเลี้ยวซ้ายก่อนถึงอำเภอพระพุทธบาทเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ปูชนียสถานที่สำคัญคือ "รอยพระพุทธบาท" ที่ประทับไว้บนแผ่นหินเหนือไหล่เขาสุวรรณบรรพต หรือเขาสัจจพันธคีรี รอยพระบาทมีความ กว้าง 21 นิ้ว ยาว 5 ฟุต ลึก 11 นิ้ว ค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม
พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นรอยพระบาทตามลักษณะ 108 ประการ จึงโปรดฯ ให้สร้างมณฑปชั่วคราว ครอบรอยพระบาทไว้ ต่อมาได้มีการสร้างต่อเติมกันอีกหลายสมัย ลักษณะของพระมณฑป เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประกอบเครื่องยอดรูปปราสาท 7 ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสีเขียว มีซุ้มบันแถลงประดับทุกชั้น มีเสาย่อมุมไม้สิบสอง ปิดทองประดับกระจกโดยรอบ ฝาผนังด้านนอกปิดทองประดับกระจกเป็นรูปเทพพนม มีพุ่มข้าวบิณฑ์ บานประตูพระมณฑปเป็นงานศิลปกรรมประดับมุกชั้นเยี่ยมของเมืองไทย พื้นภายในปูด้วยเสื่อเงินสาน ทางขึ้นพระมณฑปเป็นบันไดนาคสามสาย ซึ่งหมายถึง บันไดเงิน บันไดทอง และบันไดแก้ว ที่ทอดลงจากสวรรค์ หัวนาคที่เชิงบันไดหล่อด้วยทองสำริด เป็นนาค 5 เศียร บริเวณรอบมณฑปมีระฆังแขวนเรียงราย เพื่อให้ผู้ที่มานมัสการได้ตีเป็นการแผ่ส่วนกุศลแก่เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย พระอุโบสถ และพระวิหารต่าง ๆ ที่อยู่รายรอบ ล้วนสร้างตามแบบศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา และตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์
นอกจากนี้ ในบริเวณวัดยังมี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธบาท (วิหารหลวง) ซึ่งเป็นที่เก็บรวบรวมศิลปวัตถุอันมีค่ายิ่ง อาทิ เครื่องทรงสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เครื่องลายครามสังคโลก เครื่องทองสำริดโบราณ ศาสตราวุธโบราณ รอยพระพุทธบาทจำลอง ยอดมณฑปพระพุทธบาทเก่า พัดยศของพระสมัยต่าง ๆ และท่อประปาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช วิหารหลวงจะเปิดให้ชมเฉพาะช่วงที่มีงานเทศกาลนมัสการพระพุทธบาท ซึ่งปกติจัดให้มีปีละ 2 ครั้ง คือตั้งแต่ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 จนถึงแรม 1 ค่ำ และตั้งแต่ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 จนถึงแรม 1 ค่ำ

วัดในประเทศไทย

วัดพระเชตุพนในประวัติการสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า "วัดโพธาราม" หรือ "วัดโพธิ์" ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ใน พ.ศ. 2331 โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2344 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส” เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

นับจากนั้นวัดพระเชตุพนได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่าง ๆ ลงบนแผ่นหินอ่อนประดิษฐ์ไว้ตามศาลารายต่าง ๆ ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยนามพระอารามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร”

พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ทรงถือว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญมาก และทรงถือเป็นพระราชประเพณี ที่จะทรงบูรณะซ่อมแซมวัดนี้ทุกรัชกาล นอกจากนี้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามยังเป็นเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย เพราะเป็นแหล่งรวบรวมวิชาความรู้ด้านต่าง ๆ ทั้งประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และการแพทย์ นามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนี้ ปรากฏในประกาศสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2411 ว่า “วัดนี้แม้จะมีนามพระราชทานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แต่ชื่อพระราชทานมีผู้เรียกแต่อยู่ในพระราชวัง คนยังเรียกว่าวัดโพธิ์กันทั้งแผ่นดิน” และมีพระราชดำริว่า “ชื่อพระราชทานเป็นชื่อตั้งไม่ปิดไม่แน่นจะคิดแปลงใหม่เห็นจะไม่ชนะ”[4]

[แก้] สิ่งก่อสร้างภายในวัด

แผนผังวัดพระเชตุพนฯ อย่างคร่าวๆวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีสิ่งก่อสร้างค่อนข้างแน่น เนื่องจากการบูรณะแบบใส่คะแนน (แข่งกันบูรณะ) ส่งผลให้มีอาคารและสิ่งก่อสร้าง รวมถึง พระพุทธรูปมากมายภายในวัดแห่งนี้ โดยสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

[แก้] เขตวัดโพธาราม (เดิม)
เขตวัดโพธารามเดิม ได้แก่ ส่วนตะวันตกของวัด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่นี้เป็นที่ตั้งของ วิหารพระพุทธไสยาส ศาลาการเปรียญ (ซึ่งเป็นพระอุโบสถเดิม ของวัดโพธาราม) พระมณฑป และพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล


[แก้] วิหารพระพุทธไสยาส

พระพุทธไสยาส
พระพุทธไสยาสวิหารพระพุทธไสยาส[5] สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่ทรงโปรดฯ ให้ขยายพระอารามออกมาทางทิศเหนือ (เข้ามาซ้อนทับเขตวัดโพธารามเดิม ที่ถูกยุบไปก่อนหน้านี้) โดยพระองค์ทรงโปรดให้พระองค์เจ้าลดาวัลย์เป็นแม่กองในการก่อสร้าง โดยได้สร้างพระพุทธไสยาสขึ้นก่อน แล้วจึงสร้างพระวิหารภายหลัง โดยมีขนาดเท่ากับพระอุโบสถ บริเวณผนังของวิหารนั้น ด้านบนมีภาพเขียนสีเรื่อง มหาวงศ์ และผนังระหว่างช่องหน้าต่าง เขียนภาพสีเกี่ยวกับพระสาวิกาเอตทัคคะ 13 องค์ อุบาสกเอตทัคคะ 10 ท่านและอุบาสิกาเอตทัคคะ 10 ท่าน อยู่ด้วย [6]

ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ก่ออิฐ ถือปูน ปิดทองทั่วทั้งองค์ และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ โดยมีลักษณะพิเศษ ได้แก่ พระบาทซ้ายและขวาซ้อนเสมอกัน โดยที่พระบาทประดับมุกภาพมงคล 108 ประการ ตรงกลางเป็นรูปจักรตามตำรามหาปุริสลักขณะ โดยลวดลายของมงคล 108 ประการนั้น เป็นการผสมผสานกันระหว่างคติความเชื่อที่รับมาจากชมพูทวีปและจีน [6] [7]

[แก้] พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ (กลาง) , พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรรกนิทาน (ซ้าย) ,พระมหาเจดีย์มุนีบัติบริขาน (ขวา) และพระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย (หน้า)พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ 4 องค์ ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว สถาปัตยกรรมบริเวณซุ้มประตูมีลักษณะเป็นไทยประยุกต์แบบจีน โดยจะมีตุ๊กตาหินจีนประดับอยู่ประตูละ 1 คู่ องค์พระเจดีนั้นเป็นแบบเจดีย์ย่อไม้สิบสอง ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ[8]

เดิมทีรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญโกลนพระศรีสรรเพชญดาญาณ จากวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา ด้วยทรงประสงค์จะหล่อพระศรีสรรเพชญองค์นี้ขึ้นมาใหม่ แต่หลังจากทรงปรึกษากับคณะสงฆ์แล้ว คณะสงฆ์ได้ทูลถวายว่า การนำโกลนพระศรีสรรเพชญดาญาณมาหลอมใหม่นั้น ถือเป็นขีด เป็นกาลกิณี ไม่เป็นมงคลแก่บ้านเมือง จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ แบบย่อมุมไม้ยี่สิบ ครอบโกลนพระศรีสรรเพชญนี้ไว้ และพระราชทานพระนามเจดีย์ว่า "พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ" องค์พระเจดีย์ประด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว ตั้งอยู่ตรงกลางของหมู่พระมหาเจดีย์ ล้อมรอบด้วยพระมหาเจดีย์อีก 3 องค์ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1

ต่อมาในรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงมีพระประสงค์ทะนุบำรุงวัดพระเชตุพนฯ ทรงสร้างพระมหาเจดีย์ขนาบข้างกับพระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ ดังนั้น จึงเป็นเจดีย์สามองค์เรียงกันจากเหนือจรดใต้ โดยมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ขนาดและความสูงเหมือนกันทุกประการ ต่างเพียงสีกระเบื้องที่มาประดับเท่านั้น โดยพระมหาเจดีย์ทางทิศเหนือของพระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว นามว่า "พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรรกนิทาน" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมราชชนก ซึ่งนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 2 ส่วนพระมหาเจดีย์ทางทิศใต้ของพระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณนั้น ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง นามว่า "พระมหาเจดีย์มุนีบัติบริขาน" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 3 ด้วย


ภาพถ่ายเก่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารเมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ถ่ายแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย มาจากวัดสวนหลวงสบสวรรค์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา โดยองค์พระมหาเจดีย์มีลักษณะที่แตกต่างจากพระมหาเจดีย์ทั้ง 3 องค์ คือ มีซุ้มคูหาเข้าไปภายในองค์พระมหาเจดีย์ได้ [9] ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาบหรือสีน้ำเงินเข้ม มีนามว่า "พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย" นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4

หลังจากนั้น รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ต่อไปในรัชกาลหลังอย่าให้เอาเป็นแบบอย่างที่จำเป็นจะต้องสร้างพระเจดีย์ประจำรัชกาลในวัดพระเชตุพนต่อไปเลย เพราะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 รัชกาลแต่แรกนั้นได้เคยทรงเห็นกันทั้ง 4 พระองค์ ผิดกับสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์อื่น" [10] ดังนั้น การสร้างพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลจึงได้ยุติลงตั้งแต่นั้นมา

[แก้] ศาลาการเปรียญ
เดิมเป็นพระอุโบสถของวัดโพธารามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ภายหลังการสถาปนาพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดพระเชตุพนแล้ว จึงได้ลดฐานะเป็นศาลาการเปรียญ โดยภายในมี "พระพุทธศาสดา" ประดิษฐานเป็นพระประธาน

[แก้] เขตพระอุโบสถ
เขตพระอุโบสถเป็นเขตที่สถาปนาขึ้นใหม่นอกเขตวัดโพธารามเดิม สร้างตามคติไตรภูมิ โดยให้พระอุโบสถเป็นเสมือนเขาพระสุเมรุ และให้วิหารทิศทั้งสี่ เป็นเสมือนทวีปหลักทั้งสี่

[แก้] พระอุโบสถ
ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า ด้วยประสงค์ตั้งมั่นแน่วแน่ว่า นี่จะเป็นพระนครอย่างถาวร (ปางสมาธิ สื่อถึงการตั้งจิตมั่นแน่วแน่)


พระพุทธปาลิไลย ประดิษฐานที่พระวิหารทิศเหนือ[แก้] พระวิหารทิศ
ส่วนพระวิหารทิศทั้ง 4 นั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญจากหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ โดยแบ่งออกเป็นมุขหน้าและมุขหลัง โดยมุขหน้า คือ มุขที่หันสู่ทิศต่าง ๆ ส่วนมุขหลังนั้น คือ มุขที่หันหน้าเข้าสู่พระอุโบสถ โดยพระวิหารทิศแบ่งออกเป็น 4 ทิศ [11] ได้แก่

พระวิหารทิศตะวันออก (ทิศพระโลกนาถ) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อัญเชิญมาจากวัดเขาอินทร์ เมืองสวรรคโลก ส่วนบริเวณมุขหลังประดิษฐานพระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้อัญเชิญมาจากวิหารพระโลกนาถ ภายในวัดพระศรีสรรเพชญ (ซึ่งทรุดโทรมไม่มากนัก)
พระวิหารทิศตะวันตก (ทิศนาคปรก) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธชินศรี เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก เดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองสุโขทัย โดยได้อัญเชิญมาพร้อมกับพระพุทธชินราช
พระวิหารทิศเหนือ (ทิศป่าเลไลย) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธปาลิไลย เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลย ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงสร้างขึ้นใหม่เมื่อครั้งทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ
พระวิหารทิศใต้ (ทิศปัญญจวัคคีย์) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย
[แก้] พระเจดีย์
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย[2] ซึ่งสามารถแบ่งพระเจดีย์ต่าง ๆ ได้ 4 ประเภท ได้แก่ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล 4 องค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในเขตวัดโพธารามเดิม ส่วนที่ประดิษฐานในเขตพระอุโบสถนั้น ได้แก่ พระเจดีย์ราย 71 องค์ พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียวรวม 20 องค์ และพระเจดีย์ทรงปรางค์หรือพระมหาสถูป 4 องค์ รวมทั้งสิ้น 99 องค์ โดยพระเจดีย์ที่ประดิษฐานในเขตพระอุโบสถ มีรายละเอียดดังนี้

[แก้] พระเจดีย์ราย
พระเจดีย์ราย ประดิษฐานอยู่บริเวณโดยรอบของพระระเบียงชั้นนอกมีจำนวนทั้งสิ้น 71 องค์[12] สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเดิมมีพระราชประสงค์ให้เป็นให้เป็นที่บรรจุพระอัฐิของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ พระเจดีย์ประดับด้วยกระเบื้องถ้วยเคลือบสีและศิลาเขียว นับเป็นพระเจดีย์ที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพระเจดีย์อื่น ๆ พระเจดีย์รายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารนั้น ได้รับยกย่องว่าเป็นพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองที่งามที่สุดของยุครัตนโกสินทร์[13]

[แก้] พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว
พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระเจดีย์ 5 องค์ที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์ตรงกลางนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าอีก 4 องค์ที่ล้อมรอบอยู่ ประดิษฐานอยู่ตรงมุมพระวิหารคดทั้ง 4 ด้าน นับรวมได้ 20 องค์ ลักษณะพระเจดีย์นั้นเป้นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง 4 องค์ล้อมรอบองค์กลางซึ่งเป็นเจดีย์แบบไม้สิบสองเพิ่มมุม ภายในพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุทุกองค์[12]

[แก้] พระมหาสถูป
พระมหาสถูป เป็นพระเจดีย์ทรงปรางค์ หรือที่เรียกว่า พระอัคฆีย์เจดีย์ มีจำนวน 4 องค์ ประดิษฐานอยู่ตรงมุมลานพระอุโบสถชั้นนอกทั้ง 4 ด้าน บริเวณซุ้มของพระเจดีย์มีเทวรูปท้าวจตุโลกบาลหล่อด้วยดีบุก แล้วลงรักปิดทอง ประดิษฐานทั้ง 4 ด้าน ด้านบนมีรูปยักษ์ซึ่งหล่อด้วยดีบุกแบกยอดปรางค์ พระมหาสถูปมีชื่อเรียกที่ต่างกัน[14] ดังนี้

องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีนามว่า พระพุทธมังคละกายพันธนามหาสถูป
องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีนามว่า พระพุทธธรรมจักปวัตะนะปาทุกามหาสถูป
องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีนามว่า พระพุทธวิไนยปิฏกะสูจิฆรามหาสถูป
องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีนามว่า พระพุทธอภิธรรมธระวาสีปริกขาระมหาสถูป
[แก้] ประติมากรรมอื่น ๆ
นอกจาก อาคาร พระวิหาร พระเจดีย์ต่าง ๆ แล้ววัดโพธิ์ยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลายอย่าง อาทิเช่น

[แก้] รูปปั้นฤๅษีดัดตน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม พระองค์ทรงได้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณและศิลปวิทยาการของกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ รวมทั้ง ได้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ ไว้ด้วย ซึ่งจำนวนของรูปปั้นฤๅษีดัดตนที่สร้างในรัชกาลที่ 1 นั้น ไม่ทราบจำนวนแน่ชัด ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ได้หล่อรูปปั้นฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ รวม 80 ท่า โดยใช้สังกะสีและดีบุก แทนการใช้ดินที่เสื่อมสภาพได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการแต่งโครงสี่สุภาพเพื่อบรรยายสรรพคุณท่าต่างของฤๅษีดัดตนทั้ง 80 บทด้วย เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายรูปปั้น รวมทั้งมีการลักลอบเอารูปปั้นไปขายบางส่วน ดังนั้น รูปปั้นที่อยู่ภายในวัดโพธิ์จึงมีเหลือเพียง 24 ท่าเท่านั้น [15] [16]

[แก้] ยักษ์วัดโพธิ์

ยักษ์วัดโพธิ์บริเวณซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑปยักษ์วัดโพธิ์นั้นตั้งอยู่ที่ซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป โดยมีสีกายเป็นสีแดงและสีเขียว ลักษณะคล้ายยักษ์ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมักมีผู้เข้าใจผิดว่าตุ๊กตาสลักหินรูปจีน หรือ ลั่นถัน นายทวารบาลที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูวัดนั้นคือ ยักษ์วัดโพธิ์ [7]นอกจากนี้ ยังมีตำนานเกี่ยวกับยักษ์วัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำให้เกิดท่าเตียนในปัจจุบัน นั่นคือ ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้งนั้น ทั้ง 2 ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งยักษ์วัดแจ้งไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดโพธิ์ เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืนยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่าย ดังนั้น ยักษ์ทั้ง 2 ตนจึงเกิดทะเลาะกัน แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตและพละกำลังที่มหาศาลของยักษ์ทั้ง 2 ตน เมื่อเกิดต่อสู้กันจึงทำให้บริเวณนั้นราบเรียบโล่งเตียนไปหมด เมื่อพระอิศวรทราบเรื่องนี้ จึงได้ลงโทษให้ยักษ์วัดโพธิ์ยืนเฝ้าพระอุโบสถวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งยืนเฝ้าวิหารวัดแจ้งตั้งแต่นั้นมา [17]

[แก้] การศึกษา
[แก้] มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมสรรพวิชาแขนงต่าง ๆ จารึกลงบนศิลาจารึกหรือแผ่นศิลา รวมทั้งได้ปั้นฤๅษีดัดตน ประดับไว้ภายในบริเวณวัด ซึ่งอาจจะแบ่งความรู้ต่าง ๆ ออกได้เป็น 8 หมวด ได้แก่ หมวดประวัติการสร้างวัดพระเชตุพนฯ หมวดตำรายาแพทย์แผนโบราณ หมวดอนามัย หมวดประเพณี หมวดวรรณคดีไทย หมวดสุภาษิต หมวดทำเนียบ (จารึกหัวเมืองขึ้นของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น) และหมวดพระพุทธศาสนา [9] โดยเมื่อเทียบในปัจจุบันอาจจะแบ่งออกเป็นคณะต่าง ๆ ดังนี้ คณะประวัติศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ (ไม่เป็นทางการ) [18]

[แก้] โรงเรียนภายในวัด
โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนวัดพระเชตุพน เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6

ท่องเที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก


วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

นางสาวพรเทพ พลสุวรรณ
ปวส.รุ่น 8 คอมพิวเตอร์